เกาะพีพี

ปาย

จาก ปาย

ปฎิทิน

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ศิลปะสมัยใหม่



ศิลปะสมัยใหม่ ตั้งแต่ กลาง พ.ศ.2300 เป็นต้นมาเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นแบบอย่างของแต่ละคน มากว่าที่จะเป็นแบบอย่างศิลปะแห่งแคว้น ซึ่งเป็น แบบที่มีความแตกต่างกันจนยากที่จะกล่าวอย่างผิวเผินได้ วัสดุและเทคนิคใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งผลผลิตของเครื่องจักรกล ได้สะท้อนไปสู่งานศิลปะทำให้รูปแบบของศิลปะมีความหลายหลายมากยิ่งขึ้น ใน ขณะเดียวกัน ความรู้ทางด้านจิตวิทยาและวิชาฟิสิกส์ได้จัดแจงรูปแบบความคิดของ ศิลปินที่มีต่อมนุษย์ และโลกทางกายภาพขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ แม้ว่าแนวโน้มศิลปะหลาย ๆ แบบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 25จะได้พยายามลดคุณค่าแบบอย่างศิลปะส่วนตนไป บ้าง แต่แนวโน้มที่แพร่หลายไปนี้ก็เน้นหนักที่ความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ ลักษณะ สำคัญของงานศิลปะสมัยใหม่ จึงเป็นปฏิกิริยาที่ศิลปินแต่ละคนแสดงออกต่อโลก รอบตัว การค้นหาอาณาจักรความฝันเฟื่องของแต่ละคน การสร้างโลกทัศน์ใหม่ ของตัวเองจากวัสดุ และเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ ไปจากเดิม เหล่านี้เป็นลักษณะ สำคัญของงานจิตรกรรม ประติมากรรมแห่งพุทธศตวรรษที่ 25แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม และได้รับอิทธิพลจากศิลปะใน แบบดั้งเดิมอีกด้วย
สรุปแล้ว งานศิลปะสมัยใหม่ เป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคน เน้นความ เป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิด เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็แสดงภาวะทางจิตของศิลปิน และกลุ่มชน บ้างก็แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆรวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้าง สรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่ รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับ ความนิยม และสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย

จิตกรรมไทยร่วมสมัย

จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting)จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพเวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างมีคุณค่า เช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ะละคน










วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552


จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting)
เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ลักษณะ ประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะ และรูปแบบเป็นพิเศษ นิยมเขียนบน ฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็น
เรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย
พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับฝนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะ
แบบอุดมคติ (Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ ซึ่งคล้ายกับงาน
จิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน และ
ญี่ปุ่น เป็นต้น เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีค่อนข้างสดใส และมีการตัดเส้น
เป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความรู้และไม่มีการใช้แสง
และเงามาประกอบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพ
แบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง โดยรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้าน
หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุค
สมัย ทั้งเกรงค์ และหหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลาย ๆ สีแบบพหุรงค์นิยมมากใน
สมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพ
จิตรกรรมไทยมีความสวยงามและสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้
เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญ
ของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่า
ด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปิติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัป
กิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่างทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวก
วานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวก
ชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจ
ออกทางใบหน้า ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ
ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้
อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ
สมควรจะได้อนุรักษ์ สืบทอดให้เป็นมรดกของชาติสืบไป